ยินดีต้อนรับสู่จดหมายข่าว GIZ ประจำประเทศไทย ฉบับที่ 66 ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นจดหมายข่าวฉบับสุดท้ายของ GIZ ประจำประเทศไทย

โดยจดหมายข่าวฉบับนี้ยังคงอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ครอบคลุมประเด็นสำคัญของ GIZ ประจำประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น เกษตรและอาหาร นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานและคมนาคม ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ อุตสาหกรรมสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน เมืองยั่งยืน และสุขภาพ

ตลอดเวลาที่ผ่านมา จดหมายข่าวของเราได้นำเสนอหลากหลายเรื่องราวและความสำเร็จจาก GIZ ประจำประเทศไทย ที่สร้างแรงบันดาลใจ พร้อมอัปเดตข่าวสาร และข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เราขอขอบคุณพนักงาน GIZ ทุกคนที่ร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์ดีๆ รวมถึงผู้อ่านทุกท่านที่สนใจเรื่องราวของเรา

แม้จดหมายข่าวต้องปิดฉากลง แต่เราก็พร้อมที่จะเดินหน้าสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่สดใหม่และน่าติดตามมากขึ้น โดยสามารถติดตามเราได้ทางเว็บไซต์ www.thai-german-cooperation.info รวมถึงโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก ลิงก์อิน เอ็กซ์ (ทวิตเตอร์) และยูทูบ ซึ่งเราจะยังคงอัปเดตประเด็นสำคัญ รวมถึงข่าวสาร และคอนเทนต์มัลติมีเดียแบบจัดเต็มอย่างแน่นอน

 
 
 
 
 
งานสัมมนาไทย-เยอรมันถอดรหัสตลาดคาร์บอนเครดิตเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โครงการ TGC EMC ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดงานสัมมนาในหัวข้อระบบการซื้อขายคาร์บอนเครดิตให้กับเจ้าหน้าที่รัฐในภาคการขนส่งของประเทศไทย
ในเวทีเสวนา มีผู้ซื้อผู้ขายที่มีประสบการณ์จริงในตลาดคาร์บอนเครดิตมาแบ่งปันความรู้ในการซื้อขาย
การสัมมนาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างโครงการ TGC EMC และ สนข. ในการเสริมสร้าง
ขีดความสามารถของภาคการขนส่งของประเทศไทยใน
การขับเคลื่อนภาคการขนส่งให้บรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC)

 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
มจธ. ร่วมกับ GIZ จัดการศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีการแปรรูปชีวมวล
TGC EMC กลุ่มงานพลังงานชีวมวลและหน่วยงาน
ความร่วมมือภาครัฐเข้าเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบของ มจธ.
ชูเทคโนโลยีการแปลงชีวมวลเป็นพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ชีวมวลอัดเม็ดอาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรที่ต้องการสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น และช่วยลดมลพิษจากการเผาในที่โล่ง โดยคาดว่าจะเริ่มทดลองในจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องของโครงการฯ ต่อไป
การศึกษาดูงานครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้เสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการแปลงชีวมวลเป็นพลังงานที่อาจนำไปต่อยอดเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร และเอื้อให้เกิดการพูดคุยหารือถึงความร่วมมือด้านพลังงานยั่งยืนจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อไปในอนาคต
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
CASE จัดประชุมระดับภูมิภาคด้านการออกแบบ
ตลาดไฟฟ้าสำหรับพลังงานหมุนเวียนใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ขณะนี้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างมุ่งมั่นที่จะเร่งการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในหรือหลังปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050)
ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคมีผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนามร่วมหารือเกี่ยวกับกลไกตลาดเพื่อเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน
การประชุมครั้งนี้ได้ค้นหาว่าโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (APG) จะสามารถเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มากขึ้นได้อย่างไร
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
H2Uppp ร่วมผลักดันไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่การผลิตแอมโมเนียคาร์บอนต่ำ

 
โครงการ H2Uppp จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อ
นำเสนอผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับแอมโมเนียสีเขียว (Green Ammonia) และการนำมาใช้งานในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การประชุมเชิงปฏิบัติการแสดงผลการวิเคราะห์ศักยภาพที่ครอบคลุมของการนำแอมโมเนียสีเขียวมาใช้ในหลายประเทศ โดยเน้นไปที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบทบาทเชิงกลยุทธ์ของไทยในภูมิภาค
ผู้ร่วมงานได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่น่าสนใจในการผลิตและนำแอมโมเนียมาใช้ ควบคู่ไปกับความท้าทายหลัก ๆ ที่พบในการทำโครงการแอมโมเนียสีเขียว


อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
การจัดรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่าง
พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พ.ศ. .... ก้าวสำคัญของกฎหมายว่าด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับแรกของประเทศไทย

 
โครงการ CCMB ร่วมกับ สส. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฉบับแรกของประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม พ.ศ. 2567 โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 1,500 คนทั่วประเทศ
ร่าง พ.ร.บ. นี้มุ่งเน้นการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย โดย
การประเมินผลกระทบในการออกกฎหมาย (RIA) ผ่านประชาพิจารณ์จะช่วยให้กฎหมายฉบับนี้มีความรอบด้าน ครอบคลุมทั้งมิติสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ. นี้ ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญใน
การกำหนดกลไกการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่ง
รวมถึง ระบบการซื้อขายคาร์บอนของประเทศไทย
ระบบภาษีคาร์บอน คาร์บอนเครดิต และกองทุน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ กลไกเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานตามกลยุทธ์การลด
ก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
 
 
CCMB สนับสนุน สส. ดำเนินการจัดทำการบริการข้อมูลภูมิอากาศของประเทศไทย


 
บริการข้อมูลสภาพภูมิอากาศมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย โดยเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ปฏิบัติจริง จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน
หลายภาคส่วน
โครงการ CCMB ร่วมมือกับ สส. จัดการประชุมหารือ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานด้านข้อมูลสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน และหนุนความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้าน
แบบจำลองสภาพภูมิอากาศจากภาครัฐ สถาบันทางวิชาการ และองค์กรระหว่างประเทศ
การประชุมหารือผู้เชี่ยวชาญถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างเครือข่ายข้อมูลสภาพภูมิอากาศ โดยผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนเห็นพ้องที่จะแบ่งปันข้อมูล ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการใช้แบบจำลองสภาพภูมิอากาศ



อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
Urban-Act บูรณาการเรื่องเพศและความเท่าเทียมในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศของเมือง
 
GEDSI ย่อมาจาก Gender Equality (ความเท่าเทียมทางเพศ), Disability (ความพิการ), และ Social Inclusion (ความครอบคลุมทุกกลุ่มคนในสังคม) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อสร้างเมืองที่ยั่งยืนร่วมกันอย่างเท่าเทียม
Urban-Act บูรณาการกลยุทธ์ GEDSI อย่างครอบคลุมในทุกกระบวนการดำเนินงานโครงการ
การมีส่วนร่วมของทุกคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
อ่านเพิ่มเติม
 
 
โครงการ SPOPP ร่วมส่งเสริมความหลากหลายและ
เท่าเทียมในภาคการเกษตร
แม้การเกษตรมักถูกมองว่าเป็นงานสำหรับผู้ชายแท้เท่านั้น แต่ปรัชญา รัตนบัณฑิต หรือ ปัช พิสูจน์ให้เห็นว่า
ความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ช่วยให้คนรอบข้างยอมรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเช่นกัน
โครงการ SPOPP ช่วยให้ปัชเข้าใจการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเรียนรู้การบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนสามารถยกระดับผลผลิตของ
สวนปาล์มของครอบครัวได้
ปัชส่งต่อความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่กว่า 400 คน รวมถึงผู้คนรอบข้าง จนได้รับการยอมรับและสร้าง
แรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
เสริมศักยภาพวิศวกรชลประทานด้วยเทคนิค
การนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่

 
GIZ ร่วมกับกรมชลประทาน จัดฝึกอบรมด้านเทคนิคให้
ผู้ปฏิบัติงานด้านน้ำในลุ่มน้ำยม-น่าน ในหัวข้อการบูรณาการการประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางจาก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CRVA) เพื่อดำเนินมาตรการการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (EbA)
ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้การใช้งาน Looker Studio ของ Google ซึ่งช่วยแสดงผลข้อมูลจากกระบวนการ CRVA ที่ซับซ้อนให้ออกมาเป็นแผนที่ เพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้น
ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจะเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในกรมชลประทานในการฝึกอบรม CRVA ครั้งต่อไป เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล และส่งเสริมให้มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาทักษะ
การวางแผนโดยคำนึงถึงมิติภูมิอากาศ และถ่ายทอดความรู้ไปสู่ลุ่มน้ำอื่นๆ
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ไทยพร้อมขับเคลื่อนนโยบายเพื่อยกระดับภาคการผลิตข้าวสู่ความยั่งยืนแบบองค์รวม
 
โครงการ ISRL จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจแนวทางในการปฏิบัติงานและแนวทาง
ขับเคลื่อนกิจกรรมทั้งในระดับประเทศ ระดับจังหวัด และในพื้นที่ชุมชน
เครือข่ายภาคการผลิตข้าวในประเทศไทยทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้แทนเกษตรกรและชุมชนได้เจาะลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ISRL และพูดคุยถึงการทำงาน
เชื่อมโยงกันให้มีประสิทธิภาพ
โครงการ ISRL เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านของภาคการผลิตข้าวไทยและภาคการเกษตรให้มีศักยภาพ พร้อมเพิ่ม
การผลิตและรายได้ครัวเรือน และช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม




อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
คอฟฟี่ ดับเบิ้ลพลัส ประเทศไทย ส่งเสริมเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู พร้อมสร้างเครือข่ายวิทยากรสำหรับอบรมเกษตรกรโรบัสตา
 
โครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ล พลัส ประเทศไทย โดย GIZ ประจำประเทศไทย ร่วมกับเนสท์เล่ จัดการอบรมวิทยากรหลักสูตร “เกษตรกรรมฟื้นฟูสำหรับการปลูกกาแฟ” ขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากดำเนินโครงการอย่างเป็นทางการ
ในอดีตเกษตรกรไทยสามารถผลิตกาแฟโรบัสตาได้เฉลี่ยปีละมากถึงแสนตัน แต่กำลังการผลิตปัจจุบันกลับลดลง
เรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลด้านนโยบาย สภาวะโลกร้อนและ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โครงการฯ มีเป้าหมายพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจำนวน 2,200 ราย ใน 4 จังหวัดนำร่องทางภาคใต้เพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถปรับตัวต่อ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีส่วนช่วยลด
ภาวะโลกเดือดที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
โครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัสจัดกิจกรรมให้ความรู้เกษตรกร ณ ศูนย์รับซื้อกาแฟที่ชุมพรและระนอง
 
โครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัสประเทศไทย โดย GIZ และบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จัดกิจกรรมให้ความรู้กับเกษตรกรที่มาขายกาแฟที่ศูนย์รับซื้อกาแฟสวี จังหวัดชุมพร และศูนย์รับซื้อกาแฟกระบุรี จังหวัดระนอง
กิจกรรมนี้เน้นให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงสาเหตุและ
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการปลูกกาแฟโรบัสตา
โครงการฯ ได้สาธิตการทดสอบความคงตัวของเม็ดดินและสาธิตแบบจำลองน้ำฝน เพื่อให้เกษตรกรตระหนักถึง
ความสำคัญของการบำรุงดิน





อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
ธ.ก.ส.–GIZ ร่วมเดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรผ่านผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อรับมือกับ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
 
ผู้แทนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เกษตร (ธ.ก.ส.) และ GIZ ประจำประเทศไทย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อการเงินเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรของไทย
การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้เป็นการดำเนินงานที่ต่อเนื่องระหว่างองค์กรสองแห่งเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยในประเทศไทยสามารถเข้าถึงการจัดการเกษตรที่ยั่งยืนและรับมือต่อการเปลี่ยนแปงสภาพภูมิอากาศ
ผู้ร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินและการพัฒนา รวมถึงได้ร่วมวางแผนกิจกรรมของโครงการร่วมที่กำลังดำเนินการอยู่ด้วย

 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ถอดบทเรียนโครงการ ไทย ไรซ์ นามา เพื่อสร้าง
ความเข้มแข็งให้ตลาดข้าวปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในไทย

 
สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศจัดการประชุมนโยบายในหัวข้อ “การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ตลาดข้าวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย: เรียนรู้จากโครงการ ไทย ไรซ์ นามา”
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้พูดคุยแลกเปลี่ยนและปรึกษาหารือในประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ และความท้าทายใน
การเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตข้าวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในประเทศไทย
โครงการ ไทย ไรซ์ นามา ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงระบบ
การผลิตข้าวในประเทศไทย โดยข้อมูลเชิงลึกและบทเรียนจากโครงการนี้จะช่วยพัฒนาโครงการ Thai Rice GCF ต่อไป

อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
GIZ จับมือสมาชิกอาเซียน ขับเคลื่อนการประกันภัย
พืชผลทางการเกษตรที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ
 
ผู้แทนจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมอภิปรายใน
ที่ประชุมทางเทคนิคระดับภูมิภาค ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อขับเคลื่อนการประกันภัยพืชผลทาง
การเกษตรในภูมิภาคอาเซียน
ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนมุมมอง โดยเน้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยการแบ่งปันองค์ความรู้ และการผสานวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อสร้างการเกษตรที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศในระดับภูมิภาค
ที่ประชุมได้เสนอให้ผนวกประกันภัยพืชผลทางการเกษตร รวมถึงนวัตกรรมทางการเงิน เข้าเป็นส่วนหนึ่งในแผน
วิสัยทัศน์ภูมิภาคอาเซียนหลังปี พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) เพื่อสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคอาเซียน
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
คณะผู้แทนจากเยอรมนีสำรวจการจัดการพื้นที่ป่าพรุอย่างยั่งยืนในมาเลเซีย
 
โครงการ SUPA โดย GIZ ได้ต้อนรับคณะผู้แทนจากรัฐสภาเยอรมนีเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าพรุในประเทศมาเลเซีย
คณะผู้แทนฯ ได้เยี่ยมชมป่าพรุปะหังตะวันออกเฉียงใต้ (SEPPSF) ซึ่งเป็นป่าพรุที่ยังไม่ถูกคุกคามซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในแหลมมลายู
คณะผู้แทนฯ ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับความพยายามใน
การอนุรักษ์ การบรรเทาผลกระทบ และโครงการสนับสนุนชุมชนที่กำลังดำเนินอยู่ในพื้นที่นั้น




อ่านเพิ่มเติม
 
ติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
อีเมล PR-Thailand@giz.de


เว็บไซต์
www.giz.de/thailand
www.thai-german-cooperation.info

ติดตามข่าวสาร
ที่อยู่
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพลกซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

โทรศัพท์ 02 661 9273

เพื่อให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ GIZ หากพบการกระทำความผิด สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่นี่.