ขอต้อนรับสู่จดหมายข่าว GIZ ประจำประเทศไทย ฉบับแรกของปี พ.ศ. 2567 โดยช่วงสามเดือนที่ผ่านมา เรายังคงจัดงานและกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงมีนาคม

GIZ ประจำประเทศไทย ได้ร่วมต้อนรับประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีระหว่างการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดยได้เยี่ยมชมพื้นที่แปลงเกษตรสาธิตของโครงการระบบการผลิตข้าวยั่งยืนแบบองค์รวม (ISRL) ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมุ่งมั่นสร้างเสถียรภาพทางระบบนิเวศของชุมชนท้องถิ่นในระยะยาว นอกจากนั้น หลายโครงการยังมีกิจกรรมน่าสนใจมากมายที่เกี่ยวกับข้าว ทั้งการร่วมออกงาน ‘Thailand Rice Fest: เทศกาลกินข้าวใหม่และสินค้าข้าวสร้างสรรค์’ และการจัดฝึกอบรมการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวอย่างยั่งยืนแทนการเผา รวมถึงการฝึกอบรมด้านอื่นๆ เช่น การฝึกอบรมในระดับภูมิภาคเพื่อบรรเทาและแก้ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนในเชิงรุก การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาศักยภาพหน่วยงานรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม

สำหรับการประชุมสำคัญในไตรมาสแรกของปีนี้มีทั้งจากโครงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง (CCMB) เพื่อชี้แจงแนวทางและแผนงานของโครงการฯ รวมถึงการพัฒนามาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy) ในระยะที่สอง รวมถึงการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) และการประชุมเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มอาเซียน แอคเซส อย่างยั่งยืน ขณะที่หลายโครงการฯ ยังได้เดินสายพบปะพันธมิตรที่ร่วมงานและให้การสนับสนุนเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงร่วมดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สุดท้ายนี้ ทีมประชาสัมพันธ์ GIZ ประจำประเทศไทย ขอสำรวจความคิดเห็นของผู้อ่านจดหมายข่าวเพื่อนำไปพัฒนาการทำงานต่อไป โดยสามารถทำแบบสอบถามได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ที่ลิงก์นี้ หรือสแกน QR Code ด้านล่าง ขอขอบคุณทุกท่านล่วงหน้าที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

 
 
 
 
 
ยินดีที่ได้รู้จัก(ข้าว)
โครงการไทย ไรซ์ นามา เป็น 1 ใน 3 โครงการข้าวที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมบรรยายในงาน Thailand Rice Fest เพื่อร่วมเฉลิมฉลองข้าวไทยที่เป็นรากฐานของประเทศ
ผลิตภัณฑ์ข้าวลดโลกร้อนเป็นตัวอย่างที่สะท้อนผลสำเร็จของการปรับเปลี่ยนมุมมองและวิถีการทำนาแบบใหม่ของวิสาหกิจชุมชน “แปลงใหญ่เกษตรสมัยใหม่” ซึ่งได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำนาแบบเปียกสลับแห้งจากโครงการไทยไรซ์ นามา
โครงการฯ ดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือหลักระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านกรมข้าว และ GIZ ประจำประเทศไทย





 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
โครงการนำร่องการใช้ประโยชน์ฟางข้าวอย่างยั่งยืน ร่วมจัดฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมักและหยุดการเผา ณ จังหวัดเชียงราย
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวี และ GIZ ภายใต้โครงการนำร่องการใช้ประโยชน์ฟางข้าวอย่างยั่งยืน จัดฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมักและหยุดการเผา
ภายในงานยังมีการเสวนาในหัวข้อแนวทางการใช้ประโยชน์ฟางข้าวและหยุดการเผา โดยมีผู้สนใจมาเข้าร่วมงาน ณ หมู่บ้านปางกลาง ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายกว่า 70 คน
กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรหยุดการเผาทำลายเศษใบไม้ กิ่งไม้ ฟางข้าว และนำเศษวัสดุเหล่านี้มาทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต ซึ่งเป็นแนวทางสร้างอาชีพที่น่าสนใจและสามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
GIZ-ธ.ก.ส. กระชับความร่วมมือสู่การเกษตรที่เท่าทันต่อภูมิอากาศในประเทศไทย
ผู้บริหาร GIZ ประจำประเทศไทย เข้าพบผู้บริหารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินงานร่วมกันของทั้งสองหน่วยงาน
GIZ ประจำประเทศไทย และ ธ.ก.ส. ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกันเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 โดยเน้นการยกระดับความสามารถ รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อการเกษตรสีเขียว และกลไกทางการเงินที่ยั่งยืน เพื่อเตรียมความพร้อมและจัดการกับผลกระทบของสภาพภูมิอากาศต่อภาคเกษตรกรรมในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนา
ผู้บริหารของ ธ.ก.ส. และ GIZ ประจำประเทศไทย ยังได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสรุปโครงการไทย ไรซ์ นามา (Thai Rice NAMA) พร้อมสานต่อความร่วมมือด้านเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ตัวแทนภาครัฐและเอกชนของอาเซียน แอคเซส ร่วมหารือเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มอย่างยั่งยืน
 
คณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (ACCMSME) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และ GIZ จัดประชุมหารือประจำปี
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของอาเซียน แอคเซส (ASEAN Access) จากทั่วภูมิภาคอาเซียนได้ร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาแพลตฟอร์มอาเซียน แอคเซสอย่างยั่งยืน
ภายในงานมีการแลกเปลี่ยนแนวทางการประชาสัมพันธ์และวิธีพัฒนาแพลตฟอร์มภูมิภาคให้ยั่งยืนต่อไป






อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
GIZ ร่วมขับเคลื่อนการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy) ระยะที่ 2
 
ด้วยการสนับสนุนจากโครงการ CCMB ประเทศไทยได้เริ่มต้นการพัฒนามาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy) ในระยะที่สอง ซึ่งครอบคลุมภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการจัดการขยะ และภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อส่งเสริมการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารความเสี่ยงในการตัดสินใจด้านการเงินของประเทศไทย
ในการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนฯ มีผู้เชี่ยวชาญจากกว่า 30 สถาบันเข้าร่วมการอภิปรายเพื่อหาทางเลือกในการจำแนกประเภทการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยตลอดปีนี้ ผู้เชี่ยวชาญของไทยและต่างประเทศจะทำงานร่วมกันใน 4 ภาคธุรกิจดังกล่าว เพื่อกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกทางเทคนิคสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจกว่า 30 กิจกรรมต่อไป
Thailand Taxonomy ระยะแรก (เน้นภาคพลังงานและภาคขนส่ง) และระยะที่สอง จะครอบคลุมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยละ 95 ของประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติม
 
 
SUPA ประเทศไทย ร่วมมืออาเซียน จัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการดับไฟป่าในภูมิภาค
 
อาเซียนร่วมมือจัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับศักยภาพเจ้าหน้าที่ในระดับภูมิภาคเพื่อร่วมมือกันบรรเทาและแก้ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนในเชิงรุก
การฝึกอบรมจัดขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตอกย้ำบทบาทแนวหน้าของไทยที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการไฟป่ามาอย่างยาวนานในการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และบทเรียนสำคัญแก่เหล่าประเทศสมาชิกอาเซียน
การฝึกอบรมนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมศักยภาพและทักษะให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีส่วนในการตัดสินใจด้านการจัดการไฟป่าทั้งในมิติขององค์ความรู้ทางวิชาการ ทักษะขั้นสูง และการฝึกฝนภาคสนามเสมือนจริง









อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
ตัวแทนโครงการ TGC EMC พบ สส. เพื่อรายงานความคืบหน้าและตกลงแนวทางในอนาคต
 
ตัวแทนโครงการ TGC EMC เข้าพบตัวแทนกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) เพื่อรายงานสถานะปัจจุบันและความคืบหน้าของโครงการ
ทั้งสองฝ่ายหารือถึงประเด็นในความสนใจของ สส. ที่โครงการฯ สามารถสนับสนุนได้
การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะพัฒนาความร่วมมือเพื่อที่จะสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทยต่อไป

อ่านเพิ่มเติม
 
 
Urban-Act หารือร่วมกับกรมโยธาฯ เพื่อยกระดับความร่วมมือไปสู่การวางแผนพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำ และการเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้
GIZ และกรมโยธา ฯ หารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาเมืองตามแนวคาร์บอนต่ำ และการเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้
การประชุมเน้นหารือแนวทางการสนับสนุนภารกิจของกรมโยธาฯ ด้านคมนาคมขนส่งที่สอดคล้องกับภารกิจด้านวิศวกรรมการผังเมือง
การประชุมได้สร้างความเข้าใจและวางขอบเขตและเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในอนาคต
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
โครงการ Urban-Act จัดสัมมนาออนไลน์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเมืองตลอดปี 2567
 
โครงการ Urban-Act จัดซีรีส์การสัมมนาออนไลน์ทุกเดือนตลอดปีนี้ โดยเน้นประเด็นการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเมือง
ซีรีส์การสัมมนาออนไลน์นี้มุ่งสร้างพื้นที่แห่งการมีส่วนร่วม โดยผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาเมืองที่เติบโตแบบคาร์บอนต่ำและคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ
การสัมมนาครอบคลุมทั้งประเด็นการพัฒนาเมืองแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำ และฟื้นตัวได้ และประเด็นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวิธีการ มุมมอง ทรัพยากร และการแสวงหาแนวความคิดใหม่ๆ ให้ผู้เข้าร่วมนำไปพัฒนางานของแต่ละคน
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
GIZ ร่วมหารือกรมควบคุมมลพิษถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
 
GIZ หารือกรมควบคุมมลพิษเกี่ยวกับโครงการภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-เยอรมัน และโอกาสในสร้างความร่วมมือทั้งระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาคในอนาคต
ปีนี้ครบรอบ 20 ปีที่ของความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างสองหน่วยงาน โดยเฉพาะด้านการขับเคลื่อนวาระการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ
ปัจจุบัน GIZ มี 5 โครงการที่ดำเนินงานร่วมกับ คพ. และพร้อมที่จะสนับสนุนกรมควบคุมมลพิษให้บรรลุภารกิจต่อไป





อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
มาเลเซียขยายความร่วมมือด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่ระดับรัฐแลระดับท้องถิ่น
 
มาเลเซียขยายการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานระดับรัฐและระดับท้องถิ่น
ปัญหาหลักของการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคือสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังมีน้อย และผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมยังมีไม่มากพอ
มาเลเซียเดินหน้าส่งเสริมให้การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นภาคบังคับมากขึ้น
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมันเพิ่มศักยภาพให้แก่หน่วยงานรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมของภูฏานและลาว
 
ประเทศไทยสนับสนุนราชอาณาจักรภูฏานและสปป. ลาว ในการพัฒนาศักยภาพหน่วยงานรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม
ผู้แทนจากภูฏานและลาวเข้าร่วมโครงการศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถแก่หน่วยงานรับรองในประเทศ




อ่านเพิ่มเติม
 
ติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
อีเมล PR-Thailand@giz.de


เว็บไซต์
www.giz.de/thailand
www.thai-german-cooperation.info

ติดตามข่าวสาร
ที่อยู่
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพลกซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

โทรศัพท์ 02 661 9273

จดหมายข่าว
สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
หรือ ยกเลิกสมาชิกจดหมายข่าว
เพื่อให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ GIZ หากพบการกระทำความผิด สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่นี่.