เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้คนโลกได้เผชิญกับความร้อนระอุเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้หลายคนรู้สึกหวาดหวั่น รวมถึงการที่อันโตนิโอ กุเตอเรส เลขาธิการสหประชาชาติ ประกาศว่าเรากำลังเข้าสู่ยุค ‘โลกเดือด’ หรือ ‘global boiling’ แล้ว ยิ่งถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนว่า
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว แต่กลับเข้ามาประชิดตัวทุกคนยิ่งกว่าเคย และเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) มุ่งมั่นทำงานเพื่อออกแบบอนาคตที่น่าอยู่สำหรับผู้คน
ทั่วโลก โดยการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นหนึ่งในสาขาการดำเนินงานที่เราให้ความสำคัญและเชื่อมต่อกับโครงการหลายสาขา เช่น พลังงาน คมนาคม อุตสากรรม เกษตรกรรม สำหรับจดหมายข่าว GIZ ประเทศไทยฉบับนี้ เราได้รวบรวมบทความที่น่าสนใจจากโครงการที่ GIZ ประเทศไทย กำลังดำเนินการร่วมกับพันธมิตร เพื่อสนับสนุนประเทศไทยในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงต่อไป

สำหรับเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2566 GIZ ประเทศไทย ได้ร่วมเปิดตัวโครงการดีๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น กองทุน ThaiCI (Thai Climate Initiative Fund) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการกิจกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย รวมถึงการเปิดตัวโครงการการยกระดับการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในภูมิภาคอาเซียน (AMUSE) ในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนั้น เรายังได้ร่วมจัดเวิร์กชอปและการประชุมในหลายประเด็น เช่น ไฮโดรเจนสีเขียว พลังงานที่เป็นธรรม การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การป้องกันการทิ้งขยะลงท้องทะเล การจัดการขยะ การจัดการคุณภาพอากาศ การพัฒนาเมืองแบบองค์รวมเพื่อสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาทักษะ การเกษตร และความปลอดภัยด้านอาหาร

นอกจากจดหมายข่าวแล้ว ยังสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจาก GIZ ประเทศไทย ได้ทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก
เอ็กซ์ (ทวิตเตอร์) และลิงก์อิน

 
 
 
 
 
โครงการ TGC EMC: มุ่งสู่เป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนจากภาคเกษตรไทย
ประเทศไทยตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30% ภายในปี พ.ศ. 2573 และเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานทดแทน
โครงการ TGC EMC จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานยั่งยืนของประเทศไทย โดยเน้นไปที่ 5 กลุ่มงาน รวมถึงกลุ่มงานพลังงานชีวมวล เพื่อเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนของประเทศไทยผ่านการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการแปลงเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
การประชุมฯ ในครั้งนี้มีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเพื่อพัฒนาแผนการดำเนินการให้สอดคล้องกับโครงการฯ ในกลุ่มงานชีวมวล พร้อมส่งเสริมความร่วมมือ และผลักดันการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศไทยไปสู่พลังงานสะอาดและยั่งยืนต่อไป
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ไทยเดินหน้าหนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพตามเป้าหมาย 30x30
นับตั้งแต่มีการรับรองกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย 30x30 ซึ่งเป็นเป้าหมายระดับโลกในการอนุรักษ์พื้นที่บนบก ในทะเล และน้ำจืด อย่างน้อย 30% ในปี ค.ศ. 2030
มาตรการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ (OECMs) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศน์
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วนได้มีการประชุม
เชิงปฏิบัติการและเข้าร่วมงานต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อร่วมหาแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานพื้นที่ OECMs ในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
CASE จัดเสวนาด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่เป็นธรรมและเท่าเทียมในภูมิภาค
โครงการ CASE จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนระดับภูมิภาคในหัวข้อ “สร้างการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่เป็นธรรมและเท่าเทียม”
ตัวแทนภาครัฐจากประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนโยบาย
การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่มีประสิทธิภาพ และส่งเสริม
ความร่วมมือระหว่างประเทศต่อไป
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
H2Uppp ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่องไฮโดรเจนแก่ สนข.
 
โครงการ H2Uppp เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับไฮโดรเจนและศักยภาพของไฮโดรเจนในภาคขนส่งกับตัวแทน สนข.
โครงการมุ่งมั่นที่จะส่งต่อองค์ความรู้เพื่อสนับสนุน
การพัฒนาตลาดไฮโดรเจนสีเขียว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน


อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
ประเทศไทยศึกษาการเข้าเป็นแนวร่วมเพื่อยุติมลพิษจากพลาสติกในระดับโลก
 
กรมควบคุมมลพิษร่วมกับ GIZ ภายใต้โครงการ MA-RE-DESIGN จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็น
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหากประเทศไทยเข้าเป็นแนวร่วมเพื่อยุติมลพิษจากพลาสติก (High Ambition Coalition to End Plastic Pollution: HAC)
ในงานมีการนำเสนอมาตรการจากแผนปฏิบัติการด้าน
การจัดการขยะพลาสติกระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ที่สอดคล้องกับปัจจัยสู่ความสําเร็จ 7 ประการของ HAC
ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นว่าประเทศไทยมีมาตรการสอดคล้องกับการเข้าร่วม HAC แต่ยังมีบางประเด็นที่
น่ากังวล

อ่านเพิ่มเติม
 
 
โครงการ MA-RE-DESIGN ระดมความคิดเห็นจาก
ผู้เชี่ยวชาญถึงแนวทางการดำเนินงาน

 
โครงการ MA-RE-DESIGN ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อจัดการขยะพลาสติกและการปกป้องท้องทะเลไทย
โครงการฯ ได้จัดประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลในการวางแผนการดําเนินงานโครงการให้มีประสิทธิภาพ
โครงการฯ ได้รับแนวทางการดำเนินงานที่มี
แบบแผนมากยิ่งขึ้น โดยผู้เข้าร่วมประชุมยังแสดง
ความพร้อมในการร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการตามแผนงานที่ได้ออกแบบร่วมกัน


อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
GIZ ร่วมประชุม Climate and Clean Air Conference 2023 เพื่อส่งเสริมอนาคตสีเขียวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
GIZ ร่วมการประชุม Climate and Clean Air Conference 2023 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งผู้นำระดับโลกมารวมตัวกันเพื่อร่วมเป็นแนวหน้าในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ
GIZ โดยโครงการ SFF Air Quality Management - Climate Change ร่วมจัดเวทีเสวนาเพื่อสำรวจโอกาส
ความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
คณะผู้อภิปรายได้เจาะลึก 5 คำถามสำคัญของการทำงานร่วมกันในระดับนานาชาติ
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ยกระดับทักษะด้านดิจิทัลสำหรับวิทยากรในระดับภูมิภาคอาเซียนเพื่อฝึกอบรมครูฝึกใน
สถานประกอบการ
โครงการความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม (RECOTVET) และสำนักบริการพัฒนาบุคลากรแห่งเกาหลี (HRDK) จัดการฝึกอบรมระดับภูมิภาคสำหรับวิทยากรในรูปแบบผสมผสานทั้งออนไลน์และออนไซต์เป็นครั้งแรก
วิทยากรจากประเทศอาเซียนเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะในยุคดิจิทัล และพร้อมรับบทบาทสำคัญใน
การส่งเสริมการฝึกอบรมในสถานประกอบการในประเทศของตนและขยายผลในระดับภูมิภาคต่อไป

อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
การออกแบบเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตร
 
GIZ ร่วมกับสำนักเลขาธิการอาเซียน เปิดตัวโครงการ
ความร่วมมืออาเซียน-เยอรมนี เพื่อยกระดับการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้กับเกษตรกรทั้งชายและหญิง และพร้อมปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ
ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับโครงการฯ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความท้าทาย พร้อมระบุความต้องการเพื่อนำไปสู่กิจกรรมความร่วมมือภายใต้โครงการฯ ต่อไป
นอกจากนั้นยังมีการเห็นชอบโครงสร้างการขับเคลื่อนโครงการฯ และร่างแผนดำเนินโครงการฯ สำหรับกิจกรรมในระดับภูมิภาค และให้คำแนะนำเพื่อให้การดำเนินโครงการฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
เส้นทางของอาเซียนสู่ความยั่งยืนและความปลอดภัยทางอาหาร
 
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยด้านอาหารจากประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนเรื่องความปลอดภัยทางอาหารในระดับภูมิภาค
ผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชนจากประเทศอาเซียนและญี่ปุ่นได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และบทเรียนเกี่ยวกับ
การใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างปลอดภัย เพื่อ
ความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
การประชุมปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการส่งเสริมการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างปลอดภัยและทางเลือกอื่นที่ยั่งยืน



อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
GIZ เปิดตัวโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย
 
กรมชลประทาน UNDP และ GIZ ร่วมกันรับมือ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืนผ่าน
โครงการ E-WMSA
โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2566-2569) พื้นที่เป้าหมายครอบคลุม 7 อำเภอ ใน 3 จังหวัดบริเวณลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน
GIZ มีส่วนร่วมในการเพิ่มประสิทธิภาพงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยการเสริมสร้างความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานสีเทาด้านการจัดการน้ำ ด้วยมาตรการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (EbA)
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
โครงการ E-WMSA ประเมินความต้องการการฝึกอบรมจากหน่วยงานบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำยม-น่าน
 
โครงการ E-WMSA ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมชลประทาน UNDP และ GIZ จัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการในการประเมินความต้องการการฝึกอบรม (Training Need Analysis: TNA)
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วนกว่า 44 ท่าน เข้าร่วมการประชุมเพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำมาตรการการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (EbA) มาประยุกต์เข้ากับการจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำยม-น่าน
ผลลัพธ์ของการประชุมฯ จะใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป

อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
“ข้าวลดโลกร้อน” จากโครงการไทย ไรซ์ นามา ร่วมเป็นของสมนาคุณในวันสิ่งแวดล้อมโลก
 
เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก “ข้าวลดโลกร้อน” จำนวน 40 ตันถูกนำมาเป็นสินค้าสมนาคุณแก่ลูกค้าสถานีบริการบางจากที่ร่วมรายการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ตลอดเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566
ข้าวลดโลกร้อนสะท้อนผลสำเร็จของการปรับเปลี่ยนมุมมองและวิถีการทำนาแบบใหม่ของวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่เกษตรสมัยใหม่ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าวในโครงการไทย ไรซ์ นามา
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
GIZ ประสานภาครัฐ-วิชาการ-เอกชน เปิดเวที
แลกเปลี่ยนแนวทางส่งเสริมการหยุดเผา
ในพื้นที่เกษตรกรรมภาคเหนือ

 
จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และจังหวัดพื้นที่ใกล้เคียงทางภาคเหนือตอนบนต้องเผชิญกับภาวะหมอกควันรุนแรงและฝุ่นพิษ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน
เกษตรกรแสดงความคิดเห็นสะท้อนถึงสาเหตุของการเผาในพื้นที่การเกษตรกรรม
GIZ ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงเกษตรกร หาทางออกให้กับปัญหาการเผาเศษซากพืชหรือวัชพืช

อ่านเพิ่มเติม
 
 
ติดต่อ
แก้วตา เกษบึงกาฬ
ผู้ชำนาญการด้านประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร
อีเมล Kaewta.Ketbungkan@giz.de


เว็บไซต์
www.giz.de/thailand
www.thai-german-cooperation.info

ติดตามข่าวสาร
ที่อยู่
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพลกซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

โทรศัพท์ 02 661 9273

จดหมายข่าว
สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
หรือ ยกเลิกสมาชิกจดหมายข่าว