สวัสดีค่ะ
 

จดหมายข่าวฉบับนี้เป็นฉบับไตรมาสสุดท้ายของปี ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ปี พ.ศ. 2562 เรามีข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจจากด้านต่างๆ เช่นเคย ทั้งด้านการเกษตรและความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน การจัดการของเสีย การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม และอื่นๆ

นอกจากนี้ แผนกบริการฝึกอบรม AIZ ของเรา ยังมีหลักสูตรใหม่ๆ ที่น่าสนใจ สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่ http://training.thai-german-cooperation.info/index.php/training

หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัพเดทอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.thai-german-cooperation.info และเฟชบุค www.facebook.com/gizthailand

ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว

ข่าวเด่น

ไทย-เยอรมนีร่วมจัดการน้ำเสียชุมชน เดินหน้าพัฒนาประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

การบรรเทาสภาวะโลกร้อนที่เกี่ยวข้องกับน้ำและน้ำเสีย ประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

การเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร

เกษตรกรชัยนาทลดต้นทุนการปลูกข้าวด้วยเทคโนโลยีแนวใหม่

  • เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการปลูกข้าวและช่วยลดก๊าซเรือนกระจกโดยใช้เทคโนโลยีแนวใหม่
  • การปลูกข้าวเปียกสลับแห้งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการจัดการการผลิตข้าว
  • จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดนำร่องในการใช้เทคโนโลยีนี้
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การขับเคลื่อนแนวคิดการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่น เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง หารือแผนปฏิบัติการเพื่อวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่น
  • แผนปฏิบัติการฯ 5 ปีถูกพัฒนาขึ้นเพื่อบูรณาการแนวทางการรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่การดำเนินงาน
  • คู่มือการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่น จะเป็นผลเชิงรูปธรรมที่ได้จากการดำเนินการผ่าน 2 พื้นที่
อ่านเพิ่มเติม
โครงการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติการจัดการความเสี่ยง
นักวิจัยร่วมผลักดันนโยบายลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งและขยะอาหารในไทย

  • ข้อมูลด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหารของประเทศไทยมีค่อนข้างจำกัด
  • รัฐบาลไทยตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารไว้ร้อยละ 5 ตั้งแต่ พ.ศ. 2563
  • ตัวอย่างวิธีวัดและเก็บข้อมูลอาหารเหลือทิ้งและขยะอาหารจากการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ “Towards SDG 12.3 Food Loss and Waste”เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีต่อการพัฒนาการเก็บข้อมูล
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน
ตั้งเป้าการดำเนินงานที่สูงขึ้น กับรายงานพิเศษว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) เรียกร้องให้นานาประเทศเร่งดำเนินการเพื่อร่วมกันควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้น
  • IPCC ระบุว่า “หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในอัตราการปล่อย ณ ปัจจุบัน ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์จะพุ่งขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี พ.ศ. 2583”
  • ดร. โรซ่า ที เปเรซ หนึ่งในทีมผู้เขียนรายงานพิเศษของ IPCC กล่าวว่า แค่ความมุ่งมั่นที่ประเทศต่างๆ จะร่วมกันควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสนั้นยังไม่เพียงพอ
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน
ขับเคลื่อนการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด

  • แหล่งเงินทุนจะเป็นปัจจัยสำคัญในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นสำหรับชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
  • ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องอาศัยแหล่งเงินทุนทั้งจากภายในและต่างประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดหาแหล่งเงินทุนภายในประเทศและการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลไทยให้ความสนใจ
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน
ประเทศไทยเตรียมความพร้อมสู่การเข้าถึงกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • ประเทศไทยจำเป็นต้องมีหน่วยงานปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อเข้าถึงการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (GCF)
  • GIZ สนับสนุนกองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อมในการขอรับการรับรองเป็นหน่วยงานปฏิบัติการระดับชาติจากกองทุน GCF
  • โครงการเตรียมความพร้อมในการช่วยพัฒนายุทธศาสตร์ชาติสำหรับการลงทุนของภาคเอกชนและขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้บรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด
อ่านเพิ่มเติม
โครงการสนับสนุนการเตรียมพร้อมในการดำเนินงานของกองทุน Green Climate Fund

การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานทดแทน

กระทรวงแรงงานจับมือ GIZ พัฒนาช่างแอร์ ที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติครั้งแรกในไทย

  • กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ GIZ ร่วมพัฒนาฝีมือแรงงานช่างเทคนิคเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ
  • กพร. จะได้รับการสนับสนุนในแง่การถ่ายทอดความรู้ให้กับช่างเทคนิคเรื่องการใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่ถูกต้อง
  • คาดว่าจะเริ่มฝึกอบรมภายในไตรมาสแรกของปี 2562 ตั้งเป้าฝึกอบรมครูฝึกจำนวน 48 คนทั่วประเทศ และคาดว่าจะขยายผลการอบรมแก่ช่างเทคนิคร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรอื่นๆ ให้ได้อีก 2,000 คนใน 2 ปี
อ่านเพิ่มเติม
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ ในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
เครื่องมือพลังงานตัวใหม่สนับสนุนจังหวัดต่างๆ ในไทย ผสมผสานพลังงานได้อย่างเหมาะสม

  • เครื่องมือในการสร้างแบบจำลองด้านพลังงานระดับจังหวัด ช่วยในการตัดสินใจเรื่องพลังงานที่เหมาะสมตามบริบทของจังหวัด
  • เครื่องมือนี้จะคำนวณสถานการณ์พลังงานตามฐานข้อมูลพลังงานของไทย
  • สำนักงานพลังงานจังหวัดจะได้รับประโยชน์จากการประมาณการณ์อุปสงค์ อุปทานที่แม่นยำ และการกำหนดเป้าหมายพลังงานที่ชัดเจน
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน

การพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงาน

ภาคเอกชนเตรียมสร้างยุทธศาสตร์อาชีวศึกษาในภูมิภาคอาเซียน

  • ภาคเอกชนในอาเซียนศึกษาดูงานเรื่องบทบาทและการมีส่วนร่วมในระบบอาชีวศึกษาทวิภาคีที่เยอรมนี
  • โครงการการเรียนรู้ในภูมิภาคอาเซียนริเริ่มขึ้นเพื่อเสริมสร้างบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาอาชีวศึกษา
  • คณะทำงานระดับภูมิภาคถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการรวบรวมข้อเสนอแนะการอาชีวศึกษาของอาเซียนในอนาคต
อ่านเพิ่มเติม
โครงการความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมคุณภาพของการอาชีวศึกษา ที่มุ่งเน้นความต้องการของตลาดแรงงาน (RECOTVET)
สรุปผลสำเร็จการดำเนินโครงการ “ส่งเสริมการตรวจสอบทางด้านการเงินให้องค์กรตรวจสอบแห่งรัฐ สปป. ลาว”

  • โครงการฯ จัดทำหลักสูตรการตรวจสอบทางการเงินสำหรับผู้ตรวจสอบทางการเงินชั้นต้นจำนวน 4 โมดูล หลักสูตรการบัญชีเบื้องต้นจำนวน 1 หลักสูตร
  • ทั้ง 5 หลักสูตรได้มีการทดลองใช้กับกลุ่มนำร่องที่เป็นนักตรวจสอบทางการเงินชั้นต้นจำนวน 30 คน พร้อมทั้งปรับใช้เพื่อขยายผลต่อไป
  • การฝึกอบรมทำโดยผู้ฝึกสอนตรวจสอบทางการเงินของสปป.ลาวจำนวน 9 ท่าน ที่ได้รับการพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติม
โครงการความร่วมมือไตรภาคีไทย – เยอรมัน

สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

โครงการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในทวีปเอเชีย ก้าวสู่ระยะที่สอง มุ่งบรรลุเป้าการพัฒนาที่ยั่งยืน

  • โครงการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในทวีปเอเชียเปิดตัวระยะที่สอง
  • ภายในงาน มีการจัดกิจกรรมเครือข่ายระดับภูมิภาค ซึ่งจะถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีนับจากนี้
  • โครงการฯ สามารถเข้าถึงธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางกว่า 30,000 ราย ซึ่งนำไปสู่ผลกำไรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
อ่านเพิ่มเติม
โครงการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในทวีปเอเชีย
หน่วยงานด้านการจัดการน้ำของไทยร่วมหาแนวทางในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • หน่วยงานด้านน้ำของไทยร่วมเสริมสร้างการบูรณาการด้านการจัดการทรัพยากรน้ำในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
  • หน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมประชุมวางแผนด้านปฏิบัติการที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก
  • ผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ คือ การจัดตั้งคณะทำงานและแผนปฏิบัติการ
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน

การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม

ไทย อินเดีย และเวียดนามแสดงเจตนารมณ์ที่จะนำเทคโนโลยีการจัดการขยะของเยอรมนีมาใช้

  • ไทย อินเดีย และเวียดนามเข้าร่วมอบรมการจัดการขยะมูลฝอยที่เยอรมนี
  • การฝึกอบรมการจัดการขยะมูลฝอยเน้นแนวคิดของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน
  • การฝึกอบรมให้ข้อมูลทางเทคนิคและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในบริบทของเอเชีย
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย
มองโกเลียเรียนรู้เทคนิคการสร้างโรงงานเผาขยะจากเยอรมนี

  • เมืองอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลียวางแผนสร้างโรงงานเผาขยะ
  • สำนักงานพัฒนาแห่งชาติ ให้คำแนะนำรัฐบาลมองโกเลียในเรื่องการใช้เทคโนโลยีและกลไกทางการเงิน
  • ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาแห่งชาติและเทศบาลเมืองอูลานบาตอร์เรียนรู้การจัดการขยะและเทคโนโลยีการเผาขยะที่เยอรมนี
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย
อูลานบาตอร์ตั้งเป้าสู่การเป็นเมืองสีเขียวภายในปี 2593

  • ปัจจุบันเมืองอูลานบาตอร์เผชิญกับความท้าทายในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และการปฏิรูประบบพลังงาน
  • การศึกษาพบว่าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม จะเป็นแหล่งพลังงานหลักของเมืองอูลานบาตอร์ในปีพ.ศ. 2593
  • พลังงานเพียงร้อยละ18-25 จะได้จากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหินที่มีประสิทธิภาพสูง
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย
คอร์สอบรม

18-22 มีนาคม 2562

Effective Workshop Design and Moderation Techniques

29 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2562

Monitoring Results and Evaluation: Advance Training (RBME)

29 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2562

Project Cycle Management with LogFrame Tools

เกมส์